เรื่องที่ 21 แจ้งความเท็จเป็นไงครับ คำถามจากเทศบาลตำบลนางรอง

     

4-8-2559      ข่าว “โปรเม” แชมป์บริติช โอเพ่น ครั้งแรกของไทย

      มาร์คไม่รับ รธน.

PS ThaiLaw.com  ได้รับคำถามเรื่องนี้ ผ่านทาง E-mail : Pongrut.ku40@gmail.com  

 

๐  น้าสิด        ทนายพงศ์รัตน์  รัตนพงศ์      น.บ.ท.64        091-871 3937

๐  พี่น้อย       ทนายปราธูป  ศรีกลับ           น.บ.ท.64        085-146 3778

๐  พี่ชายน้อย  ทนายศักดิ์ชาย  ทุ่งโชคชัย    น.บ.ท.59        061-576 8275

๐  พี่เอก        ทนายขัตติยะ  นวลอนงค์      น.บ.ท.62        096-815 2471

๐  พี่ป้อม       ทนายพันศักดิ์  พัวพันธ์         น.บ.ท.64        084-333 6995

จึงช่วยกันเรียบเรียงบทความนี้เป็นความรู้กฎหมายสู่ประชาชน

 

ทนายสมปราถน์  ฮั่นเจริญ   081-9024557     เห็นว่า ต้องดู มาตรา 137 และ 267

มาตรา 137  ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงาน ผู้กระทำการตามหน้าที่ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

1.  นิติบุคคล อาจกระทำผิดฐานแจ้งความเท็จโดยร่วมกระทำผิดกับผู้แทนนิติบุคคลนั้นได้ ตามฎีกาย่อ 1807/2531

2.  การแจ้งความเท็จอาจจะเป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเอง หรือตอบคำถามเจ้าพนักงานก็ได้ ตามฎีกาที่ 492/2509

3.  การกรอกข้อความเท็จในเอกสารแล้วนำเอกสารนั้นไปยื่นต่อเจ้าพนักงาน ก็เป็นการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งมาตรา

ฎีกาย่อที่ 2752/2519

 

ในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำเลยกรอกใบสมัครด้วยตนเองว่าจำเลยมียศร้อยโทยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด กับแจ้งต่อผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีหน้าที่สอบสวนคุณสมบัติให้จดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกการสอบสวนว่าจำเลยมียศร้อยโท โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จ ดังนี้ การกระทำของจำเลยแยกได้เป็น 2 ตอน คือจำเลยเอาใบสมัครมายื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดตอนหนึ่ง กับเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดรับใบสมัครของจำเลยแล้วทำการสอบสวนปากคำจำเลยถึงเรื่องคุณสมบัติของจำเลยอีกตอนหนึ่ง การที่จำเลยเขียนใบสมัครว่ามียศร้อยโทมายื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น เป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแล้ว และการกระทำของจำเลยในตอนยื่นใบสมัครนี้เป็นคนละกรรมกับการกระทำในตอนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสอบสวนคุณสมบัติของจำเลยแล้วจำเลยแจ้งว่ามียศร้อยโท อันเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการหาใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวไม่

 

3.  การกรอกข้อความอันเป็นเท็จ ลงในเอกสารนำไปยื่นต่อเจ้าพนักงาน เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตาม ป.อ. 137 ต่อมาได้ให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จเพื่อให้เจ้าพนักงานลงในบันทึกการสอบสวนเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในเอกสารราชการตาม ป.อ. 267

4.  ข้อความอันเป็นเท็จนั้นต้องเป็นข้อเท็จจริงเป็นองค์ประกอบความผิด หรือเป็นข้อสำคัญในคดีมิใช่เป็นเพียงรายละเอียด เช่นคดีอาญาเกี่ยวกับเรื่อง จำเลยแจ้งความเรื่องออกเช็คไม่มีเงิน ได้แจ้งสถานที่ออกเช็ค หรือรับมอบเช็คเป็นเท็จ ก็ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ

5.  ทายาทไปขอรับมรดกโดยแจ้งเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดิน เกี่ยวกับจำนวนทายาท  น้อยกว่าความจริง เป็นข้อสำคัญ ผิดฐานแจ้งความเท็จ

ฎีกาย่อที่ 2141/2532

จำเลยทั้งสี่ยื่นคำร้องต่อ เจ้าพนักงานที่ดินขอรับมรดกที่ดินมีโฉนด แล้วจำเลยทั้งสี่ให้ถ้อยคำและยืนยันรับรองบัญชีเครือญาติต่อ เจ้าหน้าที่ที่ดินที่สอบสวนที่ดินมรดกว่า ผู้ตายมีทายาทเพียง 4 คน คือ จำเลยทั้งสี่ อันเป็นเท็จ ซึ่ง ความจริงจำเลยทั้งสี่ต่าง ทราบดี อยู่แล้วว่าผู้ตายยังมีบุตรสาวอีก 2 คน เป็นทายาทโดยธรรม เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ถึง ที่ 4 ตาม คำขอของจำเลยทั้งสี่ทำให้กรมที่ดินและบุตรสาวอีก 2 คน ของผู้ตายเสียหาย จำเลยทั้งสี่ย่อมมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และกรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นความผิดสำเร็จในวันที่กระทำความผิดนั้นเอง.

 

ทนายโกวิทย์  แสงสากล  082-456 0857  เห็นว่า

1.  การแจ้งความเท็จ ต้องเป็นการแจ้งในข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย ดังนั้นการแจ้งความตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏ แม้จะไม่เป็นความผิดตามข้อหาที่แจ้ง ก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จเพราะเป็นเพียงความเห็นในข้อกฎหมายเท่านั้น

2.  การแจ้งความเท็จ ต้องเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง

ฎีกาย่อ 2550/2529

ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่าการที่จำเลยไปแจ้งว่าชายคนที่ไปร้านของจำเลยคือโจทก์นั้นก็เป็นการแจ้งไปตามคำบอกเล่าของเด็กที่อยู่ในร้านโจทก์มิได้ยืนยันข้อเท็จจริงให้ปรากฏในคำฟ้องว่าเด็กในร้านมิได้บอกกับจำเลยเช่นนั้นอันจะทำให้เห็นว่าข้อที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นเท็จเมื่อฟังไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นเท็จแล้วการแจ้งความของจำเลยก็ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137.

3.  คำให้การของผู้ต้องหา ชั้นสอบสวน ที่เป็นเท็จ ไม่ผิดฐานแจ้งความเท็จ

ฎีกาย่อที่ 1093/2522

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ผู้ต้องหาจะให้การอย่างใดหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาที่จะให้การอย่างใดก็ได้ แม้คำให้การของผู้ต้องหาจะไม่เป็นความจริง ก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน

พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่าขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัส แล้วสอบสวนจดคำให้การของจำเลยไว้ ต่อมามีพยานหลักฐานว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับรถชนผู้เสียหายมิใช่จำเลย พนักงานสอบสวนเห็นว่าคำให้การของจำเลยที่จดไว้เป็นความเท็จจึงแจ้งข้อหาจำเลยเพิ่มเติมว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังนี้ คำให้การของจำเลยที่พนักงานสอบสวนจดไว้เป็นคำให้การในฐานะผู้ต้องหาแม้ไม่เป็นความจริง จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน

3.1  นอกจากจำเลยจะไม่ผิดตามมาตรา 137 ยังไม่ผิดฐานใช้ หรืออ้างเอกสารเท็จอีกด้วยตามฎีกาย่อที่ 4048/2528

การที่จำเลยเป็นคนสัญชาติญวนไม่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หลังหนึ่งเลยแล้วไปแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียน จดข้อความเท็จลงในทะเบียนบ้านอีกหลังหนึ่งว่าจำเลยเป็นคนสัญชาติไทย ย้ายมาจากบ้านที่จำเลยไม่เคยมีชื่ออยู่นั้นการกระทำของจำเลย ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจแจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนเขตดุสิตว่า จำเลยมีสัญชาติไทย ขอทำบัตรประชาชนคนไทยและนายทะเบียนเขตดุสิต ได้ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลยอันเป็นเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์ สำหรับใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลและสัญชาติ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่นายทะเบียนเขตดุสิตนั้น เมื่อปรากฏว่าบัตรประจำตัวประชาชน ที่เจ้าพนักงานออกให้นั้น ไม่มีการจดข้อความเท็จที่ว่าจำเลยมีสัญชาติไทย ลงไว้กรณีจึงไม่ครบองค์ประกอบที่จะเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 จำเลยคงมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เท่านั้น

การที่จำเลยซึ่งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมในข้อหาว่าเป็นคนญวนอพยพ หนีจากเขตควบคุมให้การปฏิเสธพร้อมทั้งแสดงบัตรประจำตัวประชาชน ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูนั้นเป็นการปฏิเสธในฐานะผู้ต้องหาแม้ข้อความ ที่จำเลยให้การนั้นจะเป็นเท็จก็ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา137 และจะเอาผิดแก่จำเลยฐานใช้ หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 ก็ไม่ได้อีกเช่นกัน

3.2  แต่ถ้าจำเลยได้แจ้งความเท็จ แก่เจ้าพนักงานก่อนที่จะตกเป็นผู้ต้องหา ไม่ถือว่าให้การในฐานะผู้ต้องหา จำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จได้

ฎีกาย่อที่ 5346/2540

จำเลยแจ้งข้อความต่อพนักงานสอบสวนขณะปฏิบัติหน้าที่ร้อยเวรสอบสวน อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ว่า"ภายหลังเกิดเหตุรถชนกันแล้ว ผู้ขับขี่รถสามล้อเครื่องได้หลบหนีไป" ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วคนขับรถสามล้อเครื่องยังคงอยู่ในที่เกิดเหตุ การกระทำของจำเลยน่าจะทำให้พนักงานสอบสวน หรือประชาชนเสียหาย แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 ผู้ต้องหาจะให้การหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นสิทธิของผู้ต้องหาก็ตามแต่ได้ความจากคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังว่า พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอผัดฟ้องและฝากขังจำเลยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2539 โดยระบุในคำร้องดังกล่าวว่าจำเลยถูกจับเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2539 และถูกกล่าวหาว่าขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้เฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายไม่หยุดให้การช่วยเหลือ ไม่แสดงตนและแจ้งเหตุต่อเจ้าหน้าที่ใกล้เคียง และแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 43(4),78,157,160 วรรคหนึ่ง และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 177 การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวตามฟ้องแก่เจ้าพนักงานในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 จึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเช่นนั้นแก่เจ้าพนักงานก่อนจำเลยถูกสอบสวนว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 หรือไม่ มิใช่เป็นการให้การของจำเลยในฐานะผู้ต้องหาในความผิดดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนอันจะทำให้จำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137

 

3.3  เมื่อได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานแล้ว แม้ต่อมาเจ้าพนักงานจะมิได้ดำเนินการตามที่จำเลยแจ้ง หรือเพิกถอนการดำเนินการไปแล้ว ก็ไม่ทำให้การกระทำที่เป็นความผิดกฎหมายไปแล้ว กลับกลายเป็นไม่เป็นความผิดอีกต่อไป

ฎีกาย่อที่ 1329/2529

กรมที่ดินจ้าง ป.เป็นลูกจ้างชั่วคราว และนายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้ง ป.ให้ปฏิบัติหน้าที่พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ในที่ดิน ป.จึงเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 จำเลยซื้อที่ดินซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) อยู่แล้วจำเลยได้ไปขอให้ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก)โดยใช้รูปถ่ายทางอากาศสำหรับที่ดินนั้นอีก โดยแจ้งต่อป. เจ้าหน้าที่พิสูจน์สอบสวนว่าที่ดินดังกล่าวยังไม่เคยมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาก่อน จนทางราชการออก น.ส.3 ก. ให้จำเลย แต่ในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งเพิกถอนเพราะเหตุจำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังนี้ เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

 

ฎีกาย่อที่ 1807/2531

บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมอบอำนาจให้ ส. ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขออายัดที่ดินหลายโฉนดของโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลย ทั้งๆ ที่ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าโจทก์มิได้เป็นลูกหนี้จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ต่อมากรมที่ดินจะเห็นว่าจำเลยมิได้มีส่วนได้เสียจึงไม่รับอายัด ก็เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชนแล้ว จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267,83

การกระทำของนิติบุคคลย่อมแสดงให้ปรากฏโดยการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันกระทำการเพื่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิดในการกระทำนั้นด้วย.

 

 

ทนายศักดิ์ชาย  ทุ่งโชคชัย   061-576 8275   เห็นว่า

1.  การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานต้องเป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องที่แจ้งความนั้นด้วย

2.  การแจ้งความเท็จในเรื่องที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่รับแจ้ง ย่อมไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ

ฎีกาย่อที่ 957/2518

เจ้าพนักงานที่ดินใช้ตรายางประทับที่ด้านหลังหนังสือสัญญาขายฝากมีข้อความว่า 'ข้าพเจ้าผู้รับซื้อฝากขอยืนยันว่า ในการทำนิติกรรมขายฝากที่ดินรายนี้ ข้าพเจ้าผู้รับซื้อฝากได้ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง ได้มีการตกปากลงคำกันมาอย่างแน่นอนแล้วที่จะทำนิติกรรมสัญญาและขอจดทะเบียนรายนี้ หากเกิดการผิดพลาดเพราะผิดตัวเจ้าของผู้ขายฝากข้าพเจ้าขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น (ลงชื่อ) ผู้รับซื้อฝาก ' และผู้รับซื้อฝากลงลายมือชื่อไว้ นั้นเมื่อปรากฏว่าบันทึกดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งกรมที่ดินเพื่อป้องกันมิให้กรมที่ดินและเจ้าพนักงานที่ดินถูกฟ้องให้รับผิดทางแพ่งจึงมิใช่บันทึกตามนัยแห่งกฎหมายหรือตามหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แม้ความจริงผู้ขายฝากกับผู้รับซื้อฝากจะไม่รู้จักกัน ไม่เคยได้ติดต่อตกลงกันเลยผู้รับซื้อฝากก็ไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ

3.  หน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งความอาจเป็นหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาก็ได้

4.เจ้าพนักงานผู้รับแจ้งความตาม ป.อ.มาตรา 137 หมายถึงเจ้าพนักงานโดยทั่วไป โดยไม่จำกัดต้องเป็นพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานตาม ป.วิ.อาญา

5.  กรณีเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ การแจ้งความเท็จไม่เป็นความผิด ฎีกาที่ 197/2491

6.  การร้องเรียนผู้บังคับบัญชาเพื่อให้ดำเนินการทางวินัยแก่จำเลย ถ้าหนังสือร้องเรียนเป็นเท็จ เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 137 แต่ไม่ผิดตาม ป.อ. 173 และ 174 เพราะมิใช่การแจ้งความเพื่อเอาผิดในคดีอาญา

ฎีกาย่อที่ 1489/2530

ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรและผู้บัญชาการตำรวจภูธรต่างมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการทางวินัยต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ฉะนั้น หากข้อความในหนังสือที่จำเลยร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์ดังกล่าวเป็นเท็จ จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2518)

การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173,174 ผู้แจ้งจะต้องมีเจตนาที่จะให้เจ้าพนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษในทางอาญา แต่การที่จำเลยทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาของโจทก์นั้นเห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยแก่โจทก์ มิได้เจตนาที่จะให้ดำเนินการเอาความผิดแก่โจทก์ในคดีอาญาการกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173,174.

 

ทนายหนูเพียร  สามนต์  090-236 1504  เห็นว่า

1.  ต้องเป็นการแจ้งข้อความเท็จซึ่งอาจทำให้ผู้อื่น หรือประชาชนเสียหายด้วยตามฎีกา 1955/2546

2.  การแจ้งความเท็จ ว่ามีความผิดอาญาเกิดขึ้นเพื่อแจ้งให้ผู้อื่นได้รับโทษ เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ และหมิ่นประมาทด้วย

3.  ต้องกระทำโดยเจตนา คือ ผู้แจ้งรู้ข้อเท็จจริงนั้นเป็นความเท็จ ดังนั้นถ้าผู้แจ้งเข้าใจโดยสุจริตว่าข้อเท็จจริงที่แจ้งเป็นความจริงถือว่าไม่มีเจตนา แจ้งความเท็จไม่เป็นความผิด ฎีกา1047/2514

4.  ความผิดฐานแจ้งความเท็จตามมาตรา 137 อาจจะเป็นความผิดตามาตรา 267 ด้วยก็ได้ ถ้าเป็นการแจ้งข้อความให้เจ้าพนักงานจดลงในเอกสารราชการหรือเอกสารมหาชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นพยานหลักฐาน การเช่นนี้ถือว่าเป็นกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบท

 

น้าสิด  ทนายพงศ์รัตน  รัตนพงศ์  เห็นว่า  กรณีฟ้องว่า แจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จ ในสัญญาซื้อขายที่ดินมีความหมายรวมถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมถึงบันทึกถ้อยคำด้วย เมื่อข้อความในบันทึกถ้อยคำเป็นเท็จ จำเลยมีความผิด ป.อ.มาตรา 137,167

ฎีกาย่อ 7115/2547

ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน มิได้บรรยายว่าจำเลยทั้งสองแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบันทึกถ้อยคำ แต่การดำเนินการของเจ้าพนักงานที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดิน ก็เป็นการดำเนินการสืบเนื่องจากบันทึกถ้อยคำ ในเมื่อทั้งหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและบันทึกถ้อยคำต่างเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารทั้งหมดที่เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการในการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินเช่นนี้ คำว่าสัญญาซื้อขายที่โจทก์อ้างในฟ้องจึงย่อมมีความหมายอยู่ในตัวถึงเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งบันทึกถ้อยคำด้วย เมื่อการให้ถ้อยคำในบันทึกถ้อยคำเป็นการให้ถ้อยคำในฐานะผู้ซื้อที่ดินซึ่งเป็นบริษัทจำกัด โดยในบันทึกถ้อยคำดังกล่าวระบุว่าประสงค์จะซื้อที่ดินและจดแจ้งด้วยว่าได้ยื่นเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งรายงานการประชุมของคณะกรรมการบริษัท การให้ถ้อยคำดังกล่าวย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าการดำเนินการของบริษัทได้ดำเนินการตามที่ระบุไว้ในรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทตามเอกสารที่ยื่นนั่นเอง ดังนั้นแม้ข้อความในบันทึกถ้อยคำจะมิได้มีข้อความระบุการเข้าประชุมของโจทก์ก็ถือได้ว่ามีการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานและมีการแจ้งข้อความให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จแล้ว

ความมุ่งหมายของความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคือ เพื่อคุ้มครองความเด็ดขาดของอำนาจรัฐ แม้กฎหมายกำหนดให้ถือเอาความเสียหายที่อาจมีแก่ผู้อื่นเป็นองค์ประกอบของความผิดอยู่ด้วย แต่ความเสียหายดังกล่าวก็ต้องเป็นความเสียหายในตัวเองจากการแจ้งความเท็จหรือจากการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จนั้น มิใช่ความเสียหายอื่นซึ่งอยู่ห่างไกล โจทก์ในฐานะเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยทั้งสองอ้างต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โจทก์ย่อมเสียหายอยู่ในตัวแล้ว โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองมีวิธีอื่นที่จะให้ได้มาซึ่งมติของคณะกรรมการบริษัทโดยไม่ต้องปลอมรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทหรือไม่ และโจทก์จะได้รับผลประโยชน์จากการกระทำของจำเลยทั้งสองในรูปของกำไรหรือการลดภาระภาษีหรือไม่ หาเป็นข้อสำคัญแต่ประการใดไม่

 

-  PS thailaw.com  นำเนื้อหามาจากหนังสืออาญาพิสดาร ของ อ.วิเชียร  ดิเรกอุดมศักดิ์

- หากท่านมีปัญหา เกี่ยวกับคดีต้องการปรึกษาทนายความ    กรุณาติดต่อน้าสิด     ที่เบอร์ 091-871 3937    หรือ   E-mail: Pongrut.ku40@gmail.com  นะครับ