หลักกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานมาตรา 121 , 122
มาตรา 121 ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุง หน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือ เปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง ห้ามมิให้นำมาตรา 17 วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อ พนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้า น้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือ เท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ เป็นหน่วยด้วย
ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย
มาตรา 122 ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 121 และลูกจ้างนั้น ทำงานติดต่อกันเกินหกปีขึ้นไป ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยตามมาตรา 118 ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสิบห้าวันต่อการทำงานครบหนึ่งปีหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการ ทำงานสิบห้าวันสุดท้ายต่อการทำงานครบหนึ่งปีสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณ เป็นหน่วย แต่ค่าชดเชยตามมาตรานี้รวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยหกสิบวัน หรือไม่เกินค่าจ้างของการทำงานสามร้อยหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน โดยคำนวณเป็นหน่วย
เพื่อประโยชน์ในการคำนวณค่าชดเชยพิเศษ กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบหนึ่งปี ถ้าเศษของระยะเวลาทำงานมากกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ให้นับเป็นการทำงานครบหนึ่งปี
มีปัญหาเกี่ยวกับคดีติดต่อน้าสิด ทนายพงศ์รัตน์ รัตนพงศ์ น.บ.ท. 64 ที่
(091 8713937) หรือ อีเมล์ pongrut.ku40@gmail.com นะครับ
ทนาย นุ้ย สุพรรณี สนมศรี น.บ.ท.71 โทร. (082 5422249) สืบค้นแล้ว มีข้อมูลดังนี้
หมายถึง
กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษกรณีที่นายจ้างปรับปรุงกิจการของนายจ้างในด้านต่าง ๆ คือ
1. ปรับปรุงหน่วยงาน ได้แก่ การจัดวางรูปองค์การใหม่หรือจัดหน่วยงานใหม่ และต้องใช้คนทำงานน้อยลง
2. ปรับปรุงกระบวนการผลิต ได้แก่ การลดขั้นตอนในการผลิตให้น้อยลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตได้รวดเร็วขึ้น มีคุณภาพดีขึ้นเป็นเหตุให้ต้องใช้คนทำงานน้อยลง
3. ปรับปรุงการจำหน่าย ได้แก่ การเปลี่ยนวิธีการจำหน่ายสินค้าไปยังลูกค้าด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม เพื่อให้การจำหน่ายสินค้ากระทำได้รวดเร็วขึ้นและใช้คนในการจำหน่ายหรือขนส่งสินค้าลดน้อยลง
4. ปรับปรุงการบริการ ได้แก่ การใช้เครื่องจักรหรือเครื่องมือต่าง ๆ รวมทั้งหุ่นยนต์มาใช้บริการแทนคนหรือใช้เครื่องอัตโนมัติให้ลูกค้าบริการตนเอง ทำให้ใช้คนทำงานน้อยลง
การปรับปรุงกิจการ หากนายจ้างมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างลูกจ้างกฎหมายได้กำหนดหน้าที่ของนายจ้างไว้ 2 ประการ คือ การแจ้งการเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ
ปรับโครงสร้างองค์กร
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามนโยบายปรับโครงสร้างองค์กร ด้วยการนำบุคคลภายนอกมาดำเนินการเกี่ยวกับฝ่ายอาคารและบริการไม่ได้ปรับปรุงหน่วยงานหรือการบริการอันเนื่องจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี กรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 121 , 122 (ฎ.2630-2631/2547)
ปรับโครงสร้างหน่วยงาน
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุที่นายจ้างปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานโดยลดจำนวนพนักงานลง มิได้เกิดจากเหตุที่นำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาแทนกำลังคน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษตามมาตรา 121 (ฎ.1396/2548)
การแจ้งการเลิกจ้าง เมื่อนายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างคนหนึ่งคนใดด้วยเหตุดังกล่าว นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุเลิกจ้างนั้นต่อบุคคลทั้งสองฝ่ายด้วยกัน คือ
1. พนักงานตรวจแรงงาน หมายถึง ข้าราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นพนักงานตรวจแรงงาน รับผิดชอบในท้องที่ที่มีการเลิกจ้างนั้น
2. ลูกจ้างที่จะต้องถูกเลิกจ้างนั้น
เรื่องที่จะต้องแจ้งให้พนักงานตรวจแรงงานและลูกจ้างทราบ คือ วันที่ที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อของลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้างนั้น
กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องแจ้งให้พนักงานตรวจแรงงานและลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างทราบล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 60 วัน ก่อนที่จะเลิกจ้าง
กรณีที่นายจ้างไม่แจ้งการเลิกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน นายจ้างจะมีความผิดตามมาตรา 146
ถ้าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งการเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหรือแจ้งแต่ไม่ครบ 60 วัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างนั้นเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 60 วันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
การจ่ายค่าชดเชยพิเศษ กฎหมายกำหนดว่าในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุผลดังกล่าว ถ้าลูกจ้างได้ทำงานมาแล้วครบ 6 ปีขึ้นไป นายจ้างต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งที่เรียกว่า ค่าชดเชยพิเศษ ให้แก่ลูกจ้างนั้นด้วยโดยกำหนดให้จ่ายในอัตราเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วัน หรือเท่ากับค่าจ้าง 15 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ทั้งนี้ ต่อระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างทุก ๆ ปี ที่ลูกจ้างทำงานเกินกว่า 6 ปี กฎหมายยังได้กำหนดจำนวนค่าชดเชยพิเศษไว้ด้วยว่า ค่าชดเชยพิเศษที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างนั้นจะต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน หรือค่าจ้างของการทำงาน 360 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
การนับระยะเวลาเพื่อการจ่ายค่าชดเชยพิเศษนั้นกฎหมายให้ถือตามจำนวนปีที่เกินกว่า 6 ปี การทำงานของลูกจ้าง ถ้าปีสุดท้ายนับได้น้อยกว่า 181 วัน ก็ให้ตัดทิ้ง แต่ถ้านับได้ 181 วันขึ้นไปแม้ไม่ครบ 1 ปี ก็ให้ถือว่าเป็น 1 ปี ดังนั้น ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงกิจการตามมาตรา 121 และมาตรา 122 เมื่อลูกจ้างได้ทำงานมาแล้วตั้งแต่ 6 ปี 181 วันขึ้นไป และลูกจ้างที่จะได้รับค่าชดเชยพิเศษสูงสุดเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วันก็คือลูกจ้างที่ทำงานมาแล้วครบ 29 ปี 181 วันขึ้นไป
ทนายหนูเพียร สามนต์ โทร. (093 2591669) สืบค้นแล้ว มีข้อมูลดังนี้
ข้อสังเกต
ค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดไว้ทั้งหมด 5 ประเภท คือ
1. ค่าชดเชย กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามมาตรา 118 จ่ายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 90 วัน 180 วัน 240 วัน 300 วัน และ400วัน(6)สำหรับลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ20ปีขึ้นไป
2. ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการโดยไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามมาตรา 120 จ่ายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
3. ค่าชดเชยพิเศษ กรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการและลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างตามมาตรา 120 จ่ายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน 90 วัน 180 วัน 240 วัน 300 วันและ400วัน
4. ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง เพราะปรับปรุงกิจการโดยไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าตามมาตรา 121 จ่ายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน
5. ค่าชดเชยพิเศษ กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างเพราะปรับปรุงกิจการตามมาตรา 122 จ่ายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 15 วัน ต่อระยะเวลาการทำงาน 1 ปี ที่เกินกว่า 6 ปีขึ้นไป และจำนวนสูงสุดจ่ายเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 360 วัน
ล
PsthaiLaw.com (091 871 3937) นำเนื้อหาจากหนังสือคดีแรงงาน ของอาจารย์สมศักดิ์ เอี่ยมพลับใหญ่ มาเผยแพร่เป็นความรู้กฎหมายสู่ประชาชน
ติดต่อ ทนายศักดิ์ชาย ทุ่งโชคชัย น.บ.ท.59 โทร. (097 2590623)
ติดต่อ ทนายวิเชียร สุภายุทธ น.บ.ท.65 โทร. (081 4559532)
ติดต่อ ทนายนุ้ย สุพรรณี สนมศรี น.บ.ท.71 โทร. (082 5422249)
ติดต่อ ทนายพีระพล กนกเกษมโรจน์ โทร. (086 1044545)
ติดต่อ ทนายหนูเพียร สามนต์ โทร. (093 2591669)
ติดต่อ ทนาย อัม ปิยะอัมพร สุกแก้ว โทร. (099 1987936)
ติดต่อน้าสิด ทนายพงศ์รัตน์ รัตนพงศ์ โทร. (091 8713937)
© 2015 All Rights Reserved