เรื่องที่ 47 ถ้าคู่กรณีเพียงฝ่ายเดียว รู้ว่าการทำนิติกรรมของตนต้องห้าม นิติกรรมจะเป็นโมฆะหรือไม่ คำถามจากพังงา

     

วันนี้ PS ThaiLaw.com  ได้รับคำถามนี้ทาง E-mail : Pongrut.ku40@gmail.com  

 

๐  น้าสิด        ทนายพงศ์รัตน์  รัตนพงศ์      น.บ.ท.64        091-871 3937

๐  พี่น้อย       ทนายปราธูป  ศรีกลับ           น.บ.ท.64        085-146 3778

๐  พี่ชายน้อย  ทนายศักดิ์ชาย  ทุ่งโชคชัย    น.บ.ท.59        061-576 8275

๐  พี่เอก        ทนายขัตติยะ  นวลอนงค์      น.บ.ท.62        096-815 2471

๐  พี่ป้อม       ทนายพันศักดิ์  พัวพันธ์         น.บ.ท.64        084-333 6995

 

จึงช่วยกันเรียบเรียงบทความนี้เป็นความรู้กฎหมายสู่ประชาชน

 

ทนายสมปราถน์  ฮั่นเจริญ    081-9024557    เห็นว่า 

1. ต้องดูจาก ป.พ.พ. 150 , 151

มาตรา ๑๕๐  การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ

มาตรา ๑๕๑  การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ

 

นางสาวตริตาภรณ์  ดีวงษ์   081-8193514  ที่ปรึกษากฎหมายเห็นว่า

1. วัตถุประสงค์ของนิติกรรม หมายถึงประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการโดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องรู้ร่วมกัน ถ้าคู่กรณีฝ่ายเดียวรู้ว่าการกระทำของตนต้องห้ามตามกฎหมาย อีกฝ่ายไม่ได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่าวัตถุประสงค์นั้นต้องห้ามตามกฎหมายไม่ได้ ดูฎีกาที่15693/2555 , 1124/2512 , 1500/2531 , 4211-4212/2528 , 218/2539

          ฎีกาที่ 15693/2555  ป.พ.พ. มาตรา 150 บัญญัติว่า การใดอันมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ...การนั้นเป็นโมฆะ ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมสองฝ่าย ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องรู้ร่วมกัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น ถ้าคู่กรณีแต่ฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายโดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วยนั้น จะว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายไม่ได้ จำเลยทั้งสามรับฝากเงินจากโจทก์ที่ 1 กับพวกและบุคคลอื่น ตกลงจะให้ดอกเบี้ยตอบแทนแก่ผู้ฝากเป็นรายปี โดยจำเลยทั้งสามไม่ได้นำเงินที่รับฝากไปจัดการหาประโยชน์ โจทก์ที่ 1 กับพวกไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง การที่โจทก์ที่ 1 กับพวกนำเงินมาฝากกับจำเลยทั้งสาม ก็เป็นเพราะต้องการได้ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลตอบแทน และเมื่อเรียกเงินคืนก็จะได้เงินคืนครบจำนวนตาม ป.พ.พ.มาตรา 672 เท่านั้น ส่วนจำเลยจะนำเงินไปกระทำการเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือไม่ โจทก์ที่ 1ไม่มีส่วนรู้เห็น นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยทั้งสามจึงไม่เป็นโมฆะ

          ฎีกาที่ 1124/2512  การใดอันมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะกรรมนั้น ในสัญญาซึ่งเป็นนิติกรรมสองฝ่ายประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายต้องการ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะต้องรู้ร่วมกัน จึงจะเป็นวัตถุที่ประสงค์ของนิติกรรมสัญญานั้น ถ้าคู่กรณีฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่าเป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย โดยอีกฝ่ายมิได้ร่วมรู้ด้วย จะถือว่านิติกรรมสัญญานั้นมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายหาได้ไม่

2. แม้ผู้รับฝากเงินประกอบการธนาคารพาณิชย์โดยมิได้รับอนุญาต แต่ผู้ฝากมิได้ร่วมรู้ว่าการกระทำของผู้รับฝากมีวัตถุที่ประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้ นิติกรรมรับฝากเงินระหว่างผู้ฝากกับผู้รับฝากย่อมไม่เป็นโมฆะ ผู้ฝากมีสิทธิเรียกเงินฝากคืนจากผู้รับฝากได้

          ฎีกาที่ 4211-4212/2528  การที่ผู้รับประกันภัยได้รับประกันวินาศภัยไว้จากผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีให้ประกอบกิจการประกันภัยนั้น สัญญาประกันที่ทำไปจะเป็นโมฆะต่อเมื่อผู้เอาประกันผู้เป็นคู่สัญญาได้ทราบถึงการที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้นเมื่อคดีนี้ไม่ปรากฏว่าผู้เอาประกันภัยได้ทราบความเช่นนั้น สัญญาประกันภัยก็ไม่เป็นโมฆะผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย

          ฎีกาที่ 218/2539  จำเลยฝ่ายเดียวรู้ถึงการกระทำของตนว่ายังไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยโจทก์ทั้งสี่มิได้ร่วมรู้ด้วย วัตถุประสงค์ของสัญญาหาได้ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายไม่ จึงไม่เป็นโมฆะ แต่เมื่อโจทก์ทั้งสี่รู้ว่าจำเลยจัดสรรที่ดินโดยมิได้รับใบอนุญาต ซึ่งขณะนั้นจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อขายให้ได้ ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ต้องรับผิดชอบ การที่โจทก์ทั้งสี่ไม่ยอมชำระเงินงวดต่อ ๆ มาอีกจึงหาเป็นผู้ผิดนัดไม่ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยเหตุดังกล่าวไม่ได้ แต่เมื่อต่อมาโจทก์ทั้งสี่ได้บอกเลิกสัญญาและทวงเงินที่ได้ชำระไว้แล้วคืน จำเลยก็มิได้โต้แย้ง กลับบอกปัดว่าได้บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์ทั้งสี่แล้ว ถือว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายและต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี

 

- PS ThaiLaw.com  นำเนื้อหามาจาก แพ่งพิสดาร เล่ม 1 ของอาจารย์วิเชียร  ดิเรกอุดมศักดิ์

 

- หากท่านมีปัญหา เกี่ยวกับคดีต้องการปรึกษาทนายความ    กรุณาติดต่อน้าสิด     ที่เบอร์ 091-871 3937    หรือ   E-mail: Pongrut.ku40@gmail.com  นะครับ 

20-12-58  ข่าว พิธีกรมิสยูนิเวิร์สเสียใจประกาศผลผิด / จับคู่สู้คึกมือถือ